การตัดแยกพลังงาน Lock out tag out -LOTO- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

การตัดแยกพลังงาน Lock out tag out -LOTO



การตัดแยกพลังงาน Lock out tag out - LOTO

ที่จป.ต้องรู้



1. การตัดแยกพลังงาน (LOTO) คืออะไร
          การตัดแยกพลังงาน คือการทำให้เกิด Isolation แยกเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ออกจากแหล่งจ่ายพลังงานและป้องกันการเชื่อมต่อพลังงานโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งขณะมีการซ่อมบำรุง ซ่อมแซม หรือทำความสะอาดเครื่องจักร หรืออุปกรณ์นั้นๆ โดยใช้วิธีการ Lock-out Tag-out หรือเรียกสั้นๆว่า LOTO
          ระบบล็อกและระบบป้ายเตือน (Lock out/Tag out System; LOTO) หมายถึง ระบบการตัดแยกแล่งพลังงานที่มีความเป็นอันรายแะการกำจัดแหล่งพลังงนที่อาจะหลงเหลืออยู่ วมไปถึงการติตตั้งอุปกรณ์ล็อกและควบคุมอุปกรณ์ตัดแยกแหล่งพสังงานที่เป็นอันตราย ณ จุดที่ทำการตัดแยก(Isolation Point) และต้องมีการติตป้ายเตือนแสดงความเป็นอันตราย ซึ่งนำไปติดไว้ที่อุปกรณ์ตัดแยกหรือจุดที่ล็อกกุญแจ


2. ใครบ้างต้องเรียนรู้ อบรม และเข้าใจในขั้นตอนการตัดแยกพลังงาน (LOTO)
          ขั้นตอนการตัดแยกพลังงาน เป็นจุดเล็กๆที่ช่วยป้องกันความปลอดภัยที่ส่วนใหญ่มักมองข้ามไป ทั้งอาจเกิดจากความเร่งรีบในการซ่อม ความคุ้นเคยจนเป็นความเผลอเรอในขั้นตอนการทำความสะอาด  จึงมีข่าวออกมาบ่อยครั้งว่า มีพนักงานซ่อมบำรุง โดยเครื่องจักรหนีบ โดยความไม่ตั้งใจของพนักงานคนอื่นที่เผลอไปกดสวิทช์ หรือกดสวิทช์ผิดเครื่อง หรือพนักงานลงไปทำความสะอาด โดยเพื่อนเข้าใจว่าขึ้นมาจากบริเวณนั้นแล้ว ขั้นตอนการตัดแยกพลังงานอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
          ดังนั้น พนักงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร พนักงานที่ดูแลพื้นที่นั้นๆ รวมถึง ช่างซ่อมบำรุงทุกคน จึงจำเป็นต้องมีการอบรม เรียนรู้ขั้นตอนการตัดแยกพลังงาน เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานได้ถูกต้อง และเข้าใจตรงกัน
         
3. ความปลอดภัยในการตัดแยกพลังงาน กฏหมายที่เกี่ยวข้องมีระบุไว้หรือไม่          
          เพราะว่านอกจากการเดินระบบผลิตปกติ ในโรงงานทุกประเภท หรือแม้แต่ในงานก่อสร้าง ต้องมีกิจกรรมที่จำเป็นต้องมีการตัดแยกพลังงาน เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การซ่อมบำรุงตรวจเช็คสภาพ (Preventive Maintenance : PM) ตามรอบเวลาที่กำหนด   การซ่อมแซมต่างๆ (Breakdown Maintenance :BM) เพื่อเปลี่ยนอะไหล่อุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย หรือแม้กระทั่งทำความสะอาด (Cleaning) ตามรอบการผลิต ฯลฯ
          กิจกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องมีช่าง หรือพนักงานเข้าทำงานในส่วนที่อาจเกิดอันตรายได้ในด้านต่างๆเช่น อัตรายจากกระแสฟ้า เช่นการซ่อมแซมตู้ไฟฟ้าควบคุม  อันตรายเชิงกลจากอุปกรณ์ เช่นจากการหมุนของเฟือง สายพาน มูเลย์ มอเตอร์ ใบพัด ใบกวนในถัง ใบตัด  อันตรายจากความร้อน,ความเย็น,สารเคมี ที่จ่ายเข้ามาโดยไม่ได้ตั้งใจ รวมถึงก๊าซชนิดต่างๆที่เป็นพิษต่อร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน หรือส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนบริเวณนั้นๆ
          ตัวอย่างข้างต้นของกิจกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องมีการตัดแยกพลังงาน และทำให้เกิดความมั่นใจว่าการตัดแยกพลังงานทำได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่อาจต่อกับแหล่งจ่ายได้ทั้งเกิดจาก ระบบอัตโนมัติ  ระบบป้องกันความปลอดภัยของอุปกรณ์ จากพนักงานที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือแม้กระทั่งจากความพลั้งเผลอของพนักงานเอง ขั้นตอนการตัดแยกพลังงานมีไว้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในตัวของพนักงานผู้ปฏิบัติงานเอง และเป็นการปฏิบัติตามกฏหมาย ตัวอย่างเช่น ดังนี้
          กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551
          (ข้อ 23 ในระหว่างที่มีการทำงานติดตั้ง ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า ให้นายจ้างจัดให้มีการใช้กุญแจป้องกันการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจร หรือจัดให้มีระบบระมัดระวังป้องกันมิให้ผู้ใดสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรตลอดเวลาที่ทำงานดังกล่าว และติดป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรไว้ด้วย)
          กฏกระทรวง กำหนดมาตราฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2552
          (ข้อ 4 ในบริเวณที่มีการติดตั้ง การซ่อมแซม หรือการตรวจสอบเครื่องจักรหรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร นายจ้างต้องติดป้ายแสดงการดำเนินการดังกล่าว โดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกันมิให้เครื่องจักรนั้นทำงาน และให้แขวนป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตช์ไว้ที่สวิตช์ของเครื่องจักรด้วย)
          กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
          (ข้อ 11 กรณีที่ที่อับอากาศที่ให้ลูกจ้างทำงานมีผนังต่อหรือมีโอกาสที่พลังงาน สาร หรือสิ่งที่เป็นอันตรายจะรั่วไหลเข้าสู่บริเวณที่อับอากาศที่ทำงานอยู่ ให้นายจ้างปิดกั้นหรือกระทำโดยวิธีการอื่นใดที่มีผลในการป้องกันมิให้พลังงาน สารหรือสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่บริเวณที่อับอากาศในระหว่างที่ลูกจ้างกำลังทำงาน)
          จากกฏกระทรวงดังกล่าวมุ่งหวังให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ลดการสูญเสียจากการซ่อมบำรุง หรือจากการปฏิบัติงาน ดังนั้นการตัดแยกพลังงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ พนักงานทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นๆควรมีการอบรม ซักซ้อม ทำความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติ ตระหนักถึงความจำเป็นในการล๊อคอุปกรณ์ และเข้าใจถึงคอนเซฟหลักในการใช้อุปกรณ์ตัดแยกพลังงานเหล่านั้น จะได้เข้าใจตรงกันโดยง่าย และครอบคลุมทุกประเด็นที่อาจส่งผลให้อุปกรณ์ทำงานโดยไม่ได้ตั้งใจได้

4. มาตรฐาน OSHA กับการตัดแยกพลังงาน
             นอกจากกฏกระทรวงอย่างน้อยๆ 3 ฉบับข้างต้นแล้ว ยังมีมาตรฐาน OSHA ที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ OSHA 1910.147 The Control of Hazardous Energy (Lockout/Tagout) ที่นิยมใช้เป็นข้อกำหนด ขั้นตอนระเบียบแบบแผนหลัก เพื่อให้เกิด Plant Isolation เป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นระหว่างการซ่อมบำรุง ซึ่งมีการลงรายละเอียดปลีกย่อย ในขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่การล๊อคแหล่งจ่ายพลังงาน( lock-out) การทำให้ระบบปลอดจากพลังงาน (Zero Energy) การแขวนป้าย (Tag-Out) การปลดจากการล๊อค เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน มีการปฏิบัติ เข้าใจในหลักการ วิธีการ จุดที่จำเป็นต้องมีการล๊อค เพราะว่าระบบหรืออุปกรณ์ในแต่ละชนิด แต่ละแห่งย่อมไม่เหมือนกัน หลักสำคัญในการล๊อคคือ “ผู้อื่นต้องเข้าใจโดยง่ายด้วย” ทำให้เกิดความซับซ้อนน้อยที่สุดที่เป็นไปได้ เพื่อลดการเกิดข้อบกพร่องในการล๊อคที่ยากต่อการเข้าใจ ซึ่งรายละเอียดควรฝึกอบรม

5.ขั้นตอนการทำ Log-Out Tag-Out (LOTO) เบื้องต้น
          ขั้นที่ 1 ระบุหาอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการซ่อมบำรุง หรือ การทำความสะอาด  ในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจในการทำงานของอุปกรณ์ เครื่องจักรนั้น  ทั้งการเดินระบบปกติ ระบบป้องกันความปลอดภัยของตัวเครื่อง และพลังงานที่อาจสะสมตกค้างในตัวเครื่องจักร หรืออุปกรณ์นั้นๆ
          ขั้นที่ 2 ปิดเครื่องจักร หรืออุปกรณ์นั้น ให้อยู่ในสภาพ shutdown ที่สมบูรณ์  ไม่มีพลังงานหรือสารเคมีใดๆตกค้าง เช่น เครื่องหยุดหมุนนิ่งสนิท ไม่มีแรงดัน ประจุไฟฟ้า หรือสารเคมีที่เป็นอันตราย
          ขั้นที่ 3 ตัดแยกพลังงานภายนอกออกจากเครื่องจักรอย่างสมบูรณ์ เช่น ปิดวาล์วจ่ายสารหรือก๊าซชนิดต่างๆ และพลังงานให้สนิทโดยไม่มีการไหลเข้าเครื่องจักร หรือถอดจุดเชื่อมต่อท่อกับใช้หน้าแปลนปิด แทนที่ชั่วคราวก่อน  สับเบรกเกอร์ไฟฟ้าลง
          ขั้นที่ 4 ล๊อคและป้องกันการเชื่อมต่อพลังงานโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยใช้กุญแจ อุปกรณ์เสริมสำหรับล๊อคป้องกันทั้งระบบไฟฟ้า วาล์วจ่ายก๊าซหรือพลังงานที่เกี่ยวข้อง
          ขั้นที่ 5 ตรวจเช็คอีกครั้งว่าไม่มีพลังงานสะสมอยู่จนก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น ประจุไฟฟ้า แรงดัน ความร้อน สารเคมีอันตราย  และไม่มีการเชื่อมต่อพลังงานอย่างไม่ได้ตั้งใจ ทั้งจากผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จากระบบเปิดอัตโนมัติของอุปกรณ์นั้นๆ หรือระบบเซฟตี้ของอุปกรณ์นั้น
          ในการทำขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นนั้น ควรทำร่วมกันระหว่างพนักงานปฏิบัติงาน ช่างซ่อมบำรุง และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เพื่อระบุและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วนจนเกิดความปลอดภัยในการซ่อมบำรุง ซ่อมแซม หรือทำความสะอาด ซึ่งการกระทำดังกล่าวจำเป็นต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมมาแล้วร่วมด้วย และจัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติในการตัดแยกพลังงานสำหรับเครื่องจักรเครื่องนั้นโดยเฉพาะ  

ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง (Affected Person)




หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร/อุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบการตัตแยกและการควบคุมการตัดแยกพลังงาน ซึ่งมีหน้าที่ในการเดินกระบวนการผลิต หรือมีหน้าที่ปฏิบัหิงานซ่อมบำรุงหรืองานวิศวกรรมเครื่องจักร/อุปกรณ์ เช่น พนักงาน นายผลิต พนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง ผู้รับเหมา เป็นต้น

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน


1) เสนอแนะให้ผู้บริหารจัดทำและทบทวนระเบียบชั้นตอนการปฏิบัติงานเรื่องการตัตแยกพลังงานและควบคุมให้มีการดำเนินการตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างเป็นระบน
2) วางแผนฝึกอบรมเรื่องขั้นตอนการปฏิบัติงานการตัดแยกพลังงานให้กับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานตัดแยกพลังงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทบทวนตามแผนฝึกอบรมที่กำหนด
3) ให้คำแนะนำ วางแผนการแก้ไข ป้องกันร่วมกับทางผู้บริหาร หรือหัวหน้างาน กรณีมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานเรื่องการตัดแยกพลังงาน
4) จัดทำแผนการดำเนินงาน รวมถึงติดตาม ตรวจสอบประสิทธิผลการนำมาตรฐานไปใช้ครอบคลุมการตรวจสอบและการทวนสอบความถูกต้อง (Verify & Validate) และรายงานผลให้กับทางผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ


การฝึกอบรมและการพัฒนาความรู้ความสามารถ

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดแยกพลังงานด้วยระบบล็อกและระบบป้ายเดือน



          ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมการตัดแยกพลังงานด้วยระบบล็อกและระบบป้ายเตือนต้องได้รับการฝึกอบรมตามความจำเป็น และสอดคล้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย โดยสถานประกอบกิจการต้องกำหนดความถี่ในการฝึกอบรม และความถี่ในการทบทวน อย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี หรือเมื่อมีระเบียบการปฏิบัติงาน (Work Procedure) หรือขั้นตอนการทำงาน (Wark Instruction) มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ หรือเมื่อมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าผู้เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมการตัตแยกพลังงานขาดความรู้ความเข้าใจและจะต้องเก็บหลักฐานที่สามารถตรวจสอบการผ่านฝึกอบรมนั้นได้ ดังตารางนี้

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดแยกพลังงาน
ด้วยระบบล็อกและระบบป้ายเตือน


การฝึกอบรม


การทบทวน
1. ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานตัดแยกพลังงาน
- เจ้าของพื้นที่
- เจ้าของงาน
แนวปฏิบัติการตัดแยกพลังงานด้วยระบบล็อก และระบบป้ายเตือน โดยมีความเข้าใจเรื่องพลังงานอันตรายต่าง ๆ ประเภท และขนาดของพลังงาน รวมถึงขั้นตอน และวิธีการควบคุมและตัดแยกพลังงาน
อย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
2. ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
ความรู้ทั่วไปของแนวปฏิบัติการตัดแยกพลังงานด้วยระบบล็อก และระบบป้ายเตือน ซึ่งจะมีการอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนเข้าปฏิบัติงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงการควบคุม และขั้นตอนการควบคุมพลังงาน
เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยฯ ประจำปีของสถานประกอบกิจการ





Lockout Tagout
อบรม Lockout Tagout เพื่อป้องกันอันตรายขณะซ่อมบำรุง ซ่อมแซม หรือทำความสะอาดเครื่องจักร วันเดียวจบ!!! พร้อมรับใบเซอร์ จองได้แล้ววันนี้ จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai